วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ส่งงานครั้งที่ 1

ได้ค่ะ
ปัญหาที่เกิดจากซีพียู     ซีพียูเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตค่อนข้างสูงภายในมีรายละเอียด ซับซ้อนโดยจะมีทรานซิสเตอร์ตัวเล็กๆ อยู่รวมกันนับล้านๆ ตัวทำให้หากมีปัญหาที่เกิดจากซีพียูแล้วโอกาสที่จะซ่อมแซมกลับคืนให้เป็น เหมือนเดิมนั้นเป็นไปไม่ได้เลย ช่างคอมพิวเตอร์เมื่อพบสาเหตุอาการเสียที่เกิดจากซีพียูแล้วก็ต้องเปลี่ยน ตัวใหม่สถานเดียว
    ปัญหาที่เกิดขึ้นกับซีพียูส่วนใหญ่แล้วจะมีเพียง 2 อาการที่ช่างคอมพิวเตอร์พบได้บ่อยๆ อาการแรกคือ ทำให้เครื่องแฮงค์เป็นประจำ และอาการที่สองคือวูบหายไปเฉยๆ โดยที่ทุกอย่างปกติ เช่นมีไฟเข้า พัดลมหมุน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นบนหน้าจอ สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากซีพียูมีความร้อนมากเกินไปจนเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งก็เดี้ยงไปแบบไม่บอกไม่กล่าว เลย สำหรับวิธีแก้ปัญหาก็คือต้องส่งเคลมสถานเดียว
    RAM หายไปไหน Spec 128 MB. ทำไม Windows บอกว่ามีแรมแค่ 96MB. เอง
อาการของ RAM หายไปดื้อ ๆ จะเกิดกับการใช้เมนบอร์ดรุ่นที่มี VGA on board นะครับ ที่จริงก็ไม่ได้หายไปไหนหรอก เพียงแต่ส่วนหนึ่งของ RAM จะถูกนำไปใช้กับ VGA ครับและขนาดที่จะ โดนนำไปใช้ก็อาจจะเป็น 2M, 4M, 8M ไปจนถึง 128M. ก็ได้ขึ้นอยู่กับการตั้งใน BIOS ครับ
--------------------------------------------------------------------------------
    "Insert System Disk and Press Enter"
อยู่ ๆ ผมไม่สามารถบูตเข้าสู่วินโดวส์ได้ ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น โดยจะขึ้นข้อความว่า "Insert System Disk and Press Enter" ทั้ง ๆ ที่ผมไม่ได้ทำการปรับแต่งวินโดวส์ เลย
ปัญหานี้เกิดจากบู๊ตเครื่องโดยมีแผ่นดิสก์ที่ไม่มี OS หรือระบบปฎิบัติการอยู่ในไดรว์ A ซึ่งขั้นตอนแก้ปัญหาก็ให้เอา แผ่นไดรว์ A ออกจากนั้นก็กดปุ่ม Enter เพียงเท่านี้ก็สามารถเข้าวินโดวส์ได้แล้ว





วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

3,000 ปีก่อนประมาณ 3,000 ปีที่ผ่านมาชาวจีนได้รู้จักการใช ้ลูกคิด ช่วยในการคิดคำนวณ และลูกคิดนี้ก็ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ค.ศ.1617
จอห์น เนเปียร์ (John Napier) นักคณิตศาสตร์ชาวสต๊อตได้ประดิษฐ์ตารางลอกการิทึม (Logarithms) ซึ่งช่วยให้การคูณและหารกระทำได้โดยง่ายขึ้นโดย ใช้หลักการบวกและลบ ลอกการิทึก ต่อมาเขาได้ประดิษฐ์เครื่องช่วยคำนวณขึ้นอีก
ค.ศ.1630
วิเลียม ออกเตรท (William Ongtred) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ใช้แนวคิดของจอห์น เนเปียร์สร้างสไลด์รูล(Slide Rule) ช่วยในการคูณต่อมาได้กลายเป็น รากฐานในการสร้าง Analog Computer
ค.ศ.1642
เบลส์ ปาสคาล(Biaise Pascal) นักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ประดิษฐ์เครื่องบวกเลขที่สร้างจากเฟือง 8 ตัวเข้าช่วยในการทด แต่ละตัวมีฟันเฟือง ตัวหนึ่งนับครบ 10 อัน เฟืองตัวติดกันทางซ้ายจะขยับไป 1 ตำแหน่งหลักการเครื่องบวกเลขของปาสคาลนี้เป็นรากฐานในการพัฒนาเครื่อง คำนวนในเวลาต่อๆ มา
ค.ศ.1671
กอดฟรีด ฟอน ไลปนิซ(Gottfricd Von Leibniz) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เครื่องที่ใช้ในการคูณด้วยวิธีบวกเลขซ้ำๆ กันอย่างรวดเร็ว โดยใช้ฟันเฟืองทด(Stepped wheel)
ค.ศ.1745
โจเซฟ แมรี่ เจคคาร์ด (Joseph Maries Jacquard) ชาวฝรั่งเศษได้คิดเครื่องทอผ้า โดยใช้คำสั่งจากบัตรเจาะรูควบคุมการทอผ้าให้มีสีและลวดลายต่างๆ เครื่องทอผ้าชนิดนี้ถือว่าเป็นเครื่องที่สามารถทำงานด้วยบัตรเจาะรูและใช้โปรแกรมคำสั่งให้ทำงานเป็นเครื่องแรก
ค.ศ.1822
ชาล์ แบบเบจ (Charles Babbage) ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์อังกฤษได้ออกแบบสร้างเครื่องคำนวณที่เรียกว่า เครื่องหาผลต่าง(Difference Engine) เป็นผลสำเร็จ โดยได้ดัดแปลงเครื่องคำนวณ เครื่องคิดเลข และบัตรเจาะรู ซึ่งมีอยู่แล้วในสมัยนั้น เครื่องนี้ใช้คำนวณและพิมพ์ตารางค่าของฟังก์ชันต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ ต่อมาเขาได้พยายามสร้างเครื่องขนาดใหญ่ เพื่อที่จะได้สร้างตารางค่า ของฟังก์ชันต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ ต่อมาเขาได้พยายามสร้างเครื่องขนาดใหญ่ เพื่อที่จะได้สร้างตารางโพลิโนเมียลดีกรีที่หก ที่มีความถูกต้อง ทศนิยมตำแหน่งที่ 20 แต่เขาไม่ประสบความสำเร็จเพราะไม่สามารถกลึงฟันเฟืองและเกียร์ให้ทำงานอย่างเที่ยงแท้แน่นอนได้

ยุคต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
            1.  ยุคหลอดสุญญากาศ    (พ.ศ. 2488 – 2501)  หลอดสุญญากาศเป็นชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ใช้ประแสไฟฟ้ามากเพื่อเผาหลอดให้เกิด    ประจุอิเล็คตรอน    วิ่งผ่านแผ่นตาราง    ครั้งแรกผลิต    เพื่อใช้งานด้านการคำนวณเลขและพัฒนาเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศสามารถเก็บข้อมูลได้โดยใช้แผ่นแม่เหล็กและเทปแม่เหล็ก
            2.  คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ (พ.ศ.2500 – 2507)     นักวิทยาศาสตร์อเมริกันได้ผลิตทรานซิสเตอร์ขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรก     ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงและใช้กระแสไฟฟ้าน้อยลง          เป็นต้นกำเนิดของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ที่บริษัท IBM ผลิตขึ้นเป็นครั้งแรก  ในปี พ.ศ. 2507 ประเทศไทยได้นำมาใช้ในการศึกษาและสำนักงานสถิติแห่งชาตินำเข้าใช้ทำสำมะโนประชากรเป็นครั้งแรก    ในยุคนี้คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ในการคำนวณขององค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกาใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมยานอวกาศ       และได้มีการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน            3.  คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม (พ.ศ.2508 – 2512)  นักวิทยาศาสตร์     ได้ทดลองนำทรานซิสเตอร์จำนวนมากลงบนแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก        และเกิดวงจรบนแผ่นซิลิกอนที่เรียกว่า  ไอ ซี   (Integrated  Circuit : I C)    บริษัท IBM ได้ผลิตคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมที่มีความซับซ้อนและสามารถคำนวณได้หลายล้านครั้งต่อวินาทีนอกจากนั้นยังมีหน่วยความจำที่จุมากขึ้นด้วย         ขณะเดียวกันก็ได้มีการผลิตหน่วยเก็บข้อมูลมาเป็น  ฮาร์ดดีส (Hard disk)  ที่เก็บข้อมูลได้มากและรวดเร็ว       คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลและอ่านข้อมูลได้รวดเร็วอีกทั้งยังมีขนาดเล็กลงที่เรียกว่า    มินิคอมพิวเตอร์   Minicomputer      จึงเป็นที่นิยมใช้กันมาก      เป็นเหตุให้มีบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นหลายราย
4.  คอมพิวเตอร์ยุค วี แอล เอส ไอ  (พ.ศ.2513 – 2532)     ได้มีการผลิตวงจรรวมขนาดใหญ่มารวมกันในแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก เรียกว่า    วงจร   วี  แอล  เอส ไอ       (Very  Large  Scale  Integrated  circuit : VLSI )  ใช้ทรานซิสเตอร์นับล้านตัวรวมกันบนแผ่นซิลิกอน         ผลิตเป็นหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์จนพัฒนามาเป็น    ไมโครโปรเซสเซอร์   (Microprocessor)   ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กแต่ประสิทธิภาพสูง      เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ Microcomputer  วงจร  VLSI  อาจจะเรียกว่า ชิป Chip เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายมากขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาระบบหน่วยความจำหรือฮาร์ดดีส   Hard disk      ให้มีขนาดเล็กลงแต่มีความจุมากขึ้น        เครื่องคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลงเรียกว่า ปาล์มท็อป Palmtop  เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาที่เรียกว่า Notebook
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่เรียกว่ า Desktop  ในยุคนี้ยังได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานในการประมวลคำ
ซอฟต์แวร์ตารางทำงานและซอฟต์แวร์กราฟิก  เป็นต้น
            5.  คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย (พ.ศ.2533-ปัจจุบัน)   เมื่อมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขีดความสามารถสูงขึ้น    ทำงานได้เร็ว       แสดงผลและจัดการข้อมูลได้มากขึ้นทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้พร้อมกันหลายงาน   ขณะเดียวกันก็มีการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงเป็น  เครือข่ายขององค์ต่าง ๆ ทำให้การทำงานเป็นกลุ่ม (Work Group) โดยใช้เครือข่ายท้องถิ่นที่เรียกว่า LAN   (Local  Area  Network : LAN) เมื่อมีการเชื่อมโยงกันเป็นกลุ่ม   เกิดเป็นเครือข่ายขององค์กรเรียกว่า INTRANET  และถ้าหากนำเครือข่ายขององค์กรเข้าสู่ข่ายสากลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกเรียกว่า  INTERNET  ที่มีใช้กันมากปัจจุบัน
เริ่มต้นคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 คอมพิวเตอร์ยุค หลอดสูญญากาศ (ค.ศ. 1945-1958)

คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ มักจะใช้กับงานธุรกิจ เช่น งานเงินเดือน บัญชี หรือควบคุมสินค้าคงคลัง

ลักษณะเฉพาะของคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
         ใช้หลอดสูญญากาศ เป็นส่วนประกอบหลัก
         ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้กำลังไฟฟ้าสูง เกิดความร้อนสูง
         ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language)
         มีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ เช่น Symbolic Language และ Assembly

        พ.ศ.2480-2481  ดร.จอห์น วินเซนต์ อตานาซอฟ (Dr.Jobn Vincent Atansoff) และ คลิฟฟอร์ด แบรี่ (Clifford Berry) ได้ประดิษฐ์เครื่อง ABC ( Atanasoff-Berry) ขึ้น โดยได้นำหลอดสุญญากาศมาใช้งาน ABC ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

        ในปี ค.ศ. 1943 วิศวกรสองคน คือ จอห์น มอชลี (John Mouchly) และ เจ เพรสเปอร์ เอ็ดเคิร์ท (J.Presper Eckert) ได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์  และจัดได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไปเครื่องแรกของโลก ชื่อว่า อินิแอค (Electronic  Numerical Intergrator And Calculator : ENIAC) อีนีแอค

        ในปี ค.ศ. 1945 จอห์น วอน นอยแมน (John Von Neumann)  ได้ เสนอแนวคิดในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำ  เพื่อใช้เก็บข้อมูลและโปรแกรมการทำงานหรือชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์  คอมพิวเตอร์จะทำงานโดยเรียกชุดคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำมาทำงาน หลักการนี้เป็นหลักการที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน









ยุคที่ 2 ประวัติคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 3 คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ (ค.ศ.1957-1964)

         ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นวงจรสำคัญ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำสามคนจากห้องปฏิบัติการ เบลล์ (Bell Lab.) ได้แก่ วิลเลียม ชอคลีย์ (W. Shock), จอห์น บาร์ดีน (J. Bardeen), วอลเตอร์ แบรทเตน (H. W. Brattain) โดย ทรานซิสเตอร์เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดเล็กกว่าหลอดสูญญากาศมาก แต่มีความจำที่สูงกว่า ไม่ต้องเวลาในการวอร์มอัพ ใช้พลังงานต่ำ ทำงานด้วยความเร็วที่สูงกว่า นอกจากเทคโนโลยีเรื่องวงจร ยังมีเทคโนโลยีอื่นมาร่วมด้วย เช่น เกิดภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นมา คือ ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) และภาษาระดับสูงต่างๆ เช่น ภาษา FORTRAN , COBOL  สำหรับหน่วยบันทึกข้อมูลก็มีการนำเทปแม่เหล็กมาใช้งาน (สำหรับรูปทั้งสามท่าน ไม่สามารถหานำมาประกอบเอกสารได้ เพราะเกรงจะโดนลิขสิทธิ์จากเจ้าของเว๊บ เขาใส่ชื่อลงในรูปไว้ จึงไม่ได้นำมา)

         นักวิทยาศาสตร์ของห้องปฏิบัติการเบลแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์สำเร็จ ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างคอมพิวเตอร์ เพราะทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กใช้กระแสไฟฟ้าน้อย มีความคงทนและเชื่อถือได้สูง และราคาถูก คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ จะมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียน โปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คน สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการผลิตคอมพิวเตอร์เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์